วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

แบบประเมินครูสุขใจ


วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

การเขียนรายงานวิจัย

การเขียนรายงานวิจัย เป็นการเล่าเรื่องราวเหตุการณ์และผลที่เกิดขึ้นในขณะที่ดำเนินการวิจัย รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับการวิจัยและน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานของผู้วิจัยเราเขียนรายงานการวิจัยเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยให้สาธารณชนได้รับรู้เพื่อครูอาจารย์หรือนักการศึกษาท่านอื่นๆจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานของตน หรือเป็นแนวทางที่จะทำการวิจัยต่อไป
รายงานการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนหน้า ส่วนเนื้อหา และส่วนท้าย แนวทางการเขียนแต่ละส่วนมีดังนี้

แนวทางการเขียนส่วนหน้า
- ปก ประกอบด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย และข้อความอื่นๆเช่น หน่วยงานของผู้วิจัย ปีที่ทำวิจัย
- บทคัดย่อ เป็นส่วนที่สรุปย่อเรื่องราวทั้งหมดของงานวิจัย สิ่งสำคัญที่ควรนำเสนอได้แก่ วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยและผลการวิจัย
- กิตติกรรมประกาศ เป็นการประกาศขอบคุณบุคคลและหน่วยงานที่ให้ความอนุเคราะห์และสนับสนุนให้การดำเนินการวิจัยสำเร็จได้ด้วยดี
- สารบัญ โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ สารบัญเนื้อเรื่อง สารบัญตารางและสารบัญแผนภูมิและภาพประกอบ
หมายเหตุ การกำหนดเลขหน้าในส่วนหน้านี้นิยมใช้ระบบตัวอักษร คือ ก ข ค .....

แนวการเขียนส่วนเนื้อหา
ส่วนเนื้อหาประกอบไปด้วย 5 บท คือไม่เกิน 20 หน้า
บทที่ 1 บทนำ 2-3 หน้า
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3-5 หน้า
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย 2-3 หน้า
บทที่ 4 ผลการวิจัย 2-3 หน้า
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ 1-2 หน้า
ภาคผนวก 3-4 หน้า
รวมแล้วไม่เกิน 20 หน้า

บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วยส่วนต่างๆที่เขียนไว้แล้วในแบบเสนอโครงการวิจัย ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ขอบเขตของการวิจัย(ขอบเขตการสร้างสิ่งประดิษฐ์และการประเมินประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทนี้เป็นการนำเสนอแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ใช้เป็นกรอบในการวิจัยต้องเรียบเรียงสรุปกรอบความคิด หลักการ การเขียนต้องเป็นการเรียบเรียงเนื้อหาเหมือนกับการเขียนบททางความวิชาการไม่ควรลอกเนื้อหามาต่อกันเป็นท่อนๆ หัวข้อสำคัญน่าจะประกอบด้วย
แนวความคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในงานวิจัย
ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา

บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทนี้เป็นการนำเสนอถึงวิธีการสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หัวข้อที่ควรนำเสนอในบทนี้มีดังนี้
การสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ในการวิจัย มีอะไรบ้าง มีขั้นตอนการสร้างและพัฒนาอย่างไร
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
การดำเนินการทดลอง เขียนให้ชัดเจนว่าดำเนินการอย่างไร
การเก็บรวบรวมข้อมูลมีแผนอย่างไร เก็บเมื่อใดอย่างไร ใครเป็นคนเก็บ ใครเป้นคนให้ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยใช้วิธีการใด
จะเห็นว่าหลาย ๆ หัวข้อในบทนี้อยู่ในแบบเสนอโครงงานวิจัยที่ทำไว้แล้ว แต่ต้องนำมาขยายความและเขียนบรรยายในลักษณะที่ได้ทำไปแล้ว

บทที่ 4 ผลการวิจัย
บทนี้เป็นการนำเสนอผลการวิจัย ซึ่งมีทั้งผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพหลักการนำเสนอผลการวิจัยทั้งสองลักษณะมีดังนี้
ผลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
เรียงดับตามวัตถุประ สงค์การวิจัย
ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาทางสถิติ
หากมีตารางหรือกราฟให้อธิบายอย่างชัดเจนว่าต้องการนำเสนออะไร

บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
บทนี้เป็นการนำเสนอข้อสรุปจากทุกบทที่ผ่านมาและข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย การเขียนโดยทั่วไปจะเริ่มจากวัตถุประสงค์การวิจัย สรุปวิธีการวิจัยโดยย่อ สรุปผลการวิจัย การอภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอ การเขียนสรุปผลการวิจัยควรเขียนในลักษณะการตีความจากข้อมูลให้สั้น กระชับ และเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การเขียนอภิปรายผลการวิจัย ควรแยกอภิปรายเป็นประเด็น โดยชี้ประเด็นว่าสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับทฤษฎีหรือผลการวิจัยที่คนอื่นทำไว้โดยยกเหตุผลมาประกอบการอภิปราย
การเขียนข้อเสนอแนะ เป็นการนำเสนอประเด็นที่ควรนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีข้อควรระวังในการนำไปใช้อะไรบ้าง แนะนำไปใช้อะไรบ้าง และข้อเสนอแนะว่าควรทำวิจัยอะไร อย่างไร
การเขียนประสบการณ์ที่ผู้วิจัยได้รับ ในงานวิจัยเชิงปฏิบัติการหรืองานวิจัยเชิงคุณภาพถือว่าหัวข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นการเล่าถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบปัญหาอุปสรรคที่ผู้วิจัยพบและแนวทางการแก้ปัญหาอุปสรรคเหล่านี้ รวมทั้งการเล่าถึงการเรียนรู้จากประสบการณ์ในการทำวิจัยที่มีคุณค่าต่อผู้วิจัยทั้งในด้านทำงานและหน่วยงาน

แนวทางการเขียนส่วนท้าย
ส่วนท้ายของการเขียนรายงานการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เอกสารอ้างอิง และภาคผนวก การเขียนเอกสารอ้างอิงนั้นควรใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งให้คงที่ การเขียนภาคผนวกอาจจะนำเสนอภาพกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย อุปกรณ์ ตัวอย่างข้อมูลดิบ ทั้งนี้ขอให้พิจารณาความเหมาะสมด้วยว่าควรนำเสนออะไร ตามลำดับอย่างไร

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จิตวิทยาการใช้สี

ผู้คนมีการตอบสนองต่อสีและรูปร่างตามหลักจิตวิทยา ซึ่งเราสามารถนำประโยชน์ไปใช้ในการออกแบบเว็บไซต์ได้ ถ้าคุณนำเสนอเว็บไซต์เกี่ยวกับชุมชน หรือเป็นที่รวมของกลุ่มคน ก็ควรพิจารณาเลือกสีที่อบอุ่น เพื่อให้เกิดความรู้สึกต้อนรับ สบายและเป็นกันเอง สำหรับเว็บที่ให้บริการข้อมูล ควรเลือกสีที่เรียบง่าย ไม่รบกวนสายตา

ความหมายที่เราได้จากสีสีหนึ่งนั้น สามารถตีความได้หลายอย่างทั้งในทางที่ดีและไม่ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเฉดสี ความเข้ม-อ่อน และสิ่งแวดล้อม
ของสถานการณ์หนึ่งๆด้วย

สีแดง เป็นสีของไฟ การปฏิวัติ ความรู้สึกทางกามารมณ์ ความปรารถนา สีของความอ่อนเยาว์ ดังนั้นจึงเป็นที่ชอบมากสำหรับเด็กเล็ก ๆ
สีแดงเป็นสีที่มีพลังมากสามารถบดบังสีอื่น ๆ จึงไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสีพื้นหรือฉากหลัง (Background)

สีเหลือง เป็นสีที่มีพลังในด้านความสว่างอย่างมาก ให้ความรู้สึกเย็นมากกว่าสีเหลืองอมส้ม แต่ก็อุ่นกว่าสีเหลืองอมเขียว สีเหลืองสะท้อน
ถึงสติปัญญามากกว่าจิตใจ คุณลักษณะของสีเหลืองจะรู้สึกได้เมื่อมีสีที่สองปรากฏอยู่ด้วย เช่น เมื่ออยู่กับสีเขียวจะทำให้รู้สึกมั่นคง และจับต้องได้มากขึ้น

สีเขียว เป็นสีทางชีววิทยาใกล้เคียงกับธรรมชาติ และช่วยให้ความคิดพลุ่งพล่านสงบลง เป็นสีกลางๆ ไม่เย็น และก็ไม่ร้อน แต่ถ้าเข้มขึ้นไป
ในทางสีน้ำเงินจะดูเป็นน้ำ สีเขียวอมฟ้า สีฟ้าพลอย เป็นลักษณะของน้ำ และอาการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วสีเขียวอมฟ้าเป็นสีตรงข้ามกับสีฟ้า

สีน้ำเงิน เป็นสีที่เก็บกด ช่างฝัน เปล่าเปลี่ยว ถึงแม้ว่าจะทำให้ใสขึ้นโดยการผสมสีขาวเข้าไปก็ตาม สีน้ำเงินให้ความประทับใจเกี่ยวกับ
ความสะอาด บริสุทธิ์ จึงมักใช้ในที่ต้องการแสดงสุขอนามัย

สีม่วง แสดงความรู้สึกใคร่ครวญ การทำสมาธิ ความลึกลับ เวทมนต์คาถา และความเก่าแก่โบราณ แม้ว่าจะผสมสีขาวให้เป็นสีม่วงไลแลค
ก็ยังทำให้คนที่มองเห็นไม่กล้าเข้าใกล้ ไม่รู้สึกเป็นมิตร สีม่วงครามซึ่งใกล้สีน้ำเงินมาก จะดูเกี่ยวข้องกับโลกมากกว่าสีม่วงแดง แต่ก็ยังคงความเป็นเจ้านาย
และเต็มไปด้วยเกียรติยศอยู่นั่นเอง

สีทอง มีตำแหน่งใกล้สีส้ม และนับว่าเป็นสีอุ่นสีหนึ่ง ในขณะที่สีเงินถูกจัดให้เป็นสีเย็น และมีความคล้ายคลึงกับสีเทากลาง การใช้สีเงินออก
จะยากกว่าเนื่องจากต้องมีสีอุ่นมาใช้ร่วมด้วย หากว่าต้องการผลของความรู้สึกในทางบวก

สีเทา ซึ่งมีระดับสีอ่อนแก่แตกต่างกันมากมายหลายระดับนั้น อาจจะเป็นที่คุ้นเคยกันดีจากการดูภาพขาวดำ การอ่านหนังสือพิมพ์
และหนังสือทั่วไป

สีดำ ซึ่งเรียกว่า "อรงค์" คือ ถือว่าไม่ใช่สีดำ เป็นสัญลักษณ์ของความมืด ความสว่าง ในการตีพิมพ์สีดำมีค่าในทางบวกมา เนื่องจากเมื่อ
เราใช้สีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ หรือตัวอักษรวางลงไป ก็จะทำให้สีเหล่านั้นเจิดจ้าสะดุดตาขึ้น

สีขาว ไม่เป็นทั้งสีอุ่น และเย็น ยกเว้นเมื่ออยู่กับสีเหลืองจะทำให้สีเหลืองจ้าขึ้น เราสามารถวางภาพ หรืออักษรสีต่างๆ ลงบนพื้นขาวได้ผลดี
เช่นเดียวกับสีดำ
ที่มา http://203.146.15.109/lms/content/multimedia/multi_lesson/lesson/04/color_g.html

รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของมศว

หัวข้อ : รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมของมศว
ข้อความ : การจัดเรียงบรรณานุกรม

หนังสือ
ชื่อ/ชื่อสกุล.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่องหนา.//ครั้งที่พิมพ์.//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือผู้จัดพิมพ์.

วารสาร
ชื่อ/ชื่อสกุลผู้เขียนบทความ.//(ปี,/วัน/เดือน).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสารหนา.//ปีที่(ฉบับที่)/:/หน้าที่อ้าง.
ชื่อบทความ.//(ปี,/วัน/เดือน).//ชื่อวารสารหนา.//ปีที่(ฉบับที่)/:/หน้าที่อ้าง.

หนังสือพิมพ์
ชื่อผู้เขียน.//(ปี,/วัน/เดือน).//ชื่อบทความหรือชื่อคอลัมน์.//ชื่อนสพหนา.//หน้าที่ตีพิมพ์.

เว็บไซต์
ผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์,/วันเดือนของวารสารหรือปีที่สืบค้น).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสารหนา.//(คำบอกแหล่งข้อ

มูลอิเลกทรอนิกส์).
//ปีที่(ฉบับที่)/:/หน้า.//แหล่งที่มา:/ชื่อของแหล่งที่มา;/ชื่อแหล่งย่อย.//วันที่สืบค้น.

หัวข้อย่อยในเว็บไซต์หนา. (ปีที่สืบค้น).//แหล่งที่มา:/ชื่อของแหล่งที่มา;/ชื่อแหล่งย่อย.//วันที่สืบค้น.

เช่น
ราชบัณฑิตยสถาน. (2543). รายงานผลการวิจัยเรื่องการออกเสียงคำไทย(หนา). (ออนไลน์). แหล่งที่

มา:http:.......html. วันที่สืบค้น 25 กรกฎาคม 2547.


อย่าลืมชิด
เว้น 7 เคาะ

แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา. (2546). สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2550,
จากhttp://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=13715
วรัท พฤกษากุลนันท์. (2550).

แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษาตามนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2550,
จาก http://www.edtechno.com/new/blog/index.php?postid=9
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2549).

รายงานการวิจัย การศึกษาแนวโน้มเพื่อการวิจัยและพัฒนาการศึกษาสำหรับอนาคต. สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2550,
จาก http://www.onec.go.th/publication/49044/sara_49044.htm

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552