วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จิตวิทยาการใช้สี

ผู้คนมีการตอบสนองต่อสีและรูปร่างตามหลักจิตวิทยา ซึ่งเราสามารถนำประโยชน์ไปใช้ในการออกแบบเว็บไซต์ได้ ถ้าคุณนำเสนอเว็บไซต์เกี่ยวกับชุมชน หรือเป็นที่รวมของกลุ่มคน ก็ควรพิจารณาเลือกสีที่อบอุ่น เพื่อให้เกิดความรู้สึกต้อนรับ สบายและเป็นกันเอง สำหรับเว็บที่ให้บริการข้อมูล ควรเลือกสีที่เรียบง่าย ไม่รบกวนสายตา

ความหมายที่เราได้จากสีสีหนึ่งนั้น สามารถตีความได้หลายอย่างทั้งในทางที่ดีและไม่ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเฉดสี ความเข้ม-อ่อน และสิ่งแวดล้อม
ของสถานการณ์หนึ่งๆด้วย

สีแดง เป็นสีของไฟ การปฏิวัติ ความรู้สึกทางกามารมณ์ ความปรารถนา สีของความอ่อนเยาว์ ดังนั้นจึงเป็นที่ชอบมากสำหรับเด็กเล็ก ๆ
สีแดงเป็นสีที่มีพลังมากสามารถบดบังสีอื่น ๆ จึงไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสีพื้นหรือฉากหลัง (Background)

สีเหลือง เป็นสีที่มีพลังในด้านความสว่างอย่างมาก ให้ความรู้สึกเย็นมากกว่าสีเหลืองอมส้ม แต่ก็อุ่นกว่าสีเหลืองอมเขียว สีเหลืองสะท้อน
ถึงสติปัญญามากกว่าจิตใจ คุณลักษณะของสีเหลืองจะรู้สึกได้เมื่อมีสีที่สองปรากฏอยู่ด้วย เช่น เมื่ออยู่กับสีเขียวจะทำให้รู้สึกมั่นคง และจับต้องได้มากขึ้น

สีเขียว เป็นสีทางชีววิทยาใกล้เคียงกับธรรมชาติ และช่วยให้ความคิดพลุ่งพล่านสงบลง เป็นสีกลางๆ ไม่เย็น และก็ไม่ร้อน แต่ถ้าเข้มขึ้นไป
ในทางสีน้ำเงินจะดูเป็นน้ำ สีเขียวอมฟ้า สีฟ้าพลอย เป็นลักษณะของน้ำ และอาการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วสีเขียวอมฟ้าเป็นสีตรงข้ามกับสีฟ้า

สีน้ำเงิน เป็นสีที่เก็บกด ช่างฝัน เปล่าเปลี่ยว ถึงแม้ว่าจะทำให้ใสขึ้นโดยการผสมสีขาวเข้าไปก็ตาม สีน้ำเงินให้ความประทับใจเกี่ยวกับ
ความสะอาด บริสุทธิ์ จึงมักใช้ในที่ต้องการแสดงสุขอนามัย

สีม่วง แสดงความรู้สึกใคร่ครวญ การทำสมาธิ ความลึกลับ เวทมนต์คาถา และความเก่าแก่โบราณ แม้ว่าจะผสมสีขาวให้เป็นสีม่วงไลแลค
ก็ยังทำให้คนที่มองเห็นไม่กล้าเข้าใกล้ ไม่รู้สึกเป็นมิตร สีม่วงครามซึ่งใกล้สีน้ำเงินมาก จะดูเกี่ยวข้องกับโลกมากกว่าสีม่วงแดง แต่ก็ยังคงความเป็นเจ้านาย
และเต็มไปด้วยเกียรติยศอยู่นั่นเอง

สีทอง มีตำแหน่งใกล้สีส้ม และนับว่าเป็นสีอุ่นสีหนึ่ง ในขณะที่สีเงินถูกจัดให้เป็นสีเย็น และมีความคล้ายคลึงกับสีเทากลาง การใช้สีเงินออก
จะยากกว่าเนื่องจากต้องมีสีอุ่นมาใช้ร่วมด้วย หากว่าต้องการผลของความรู้สึกในทางบวก

สีเทา ซึ่งมีระดับสีอ่อนแก่แตกต่างกันมากมายหลายระดับนั้น อาจจะเป็นที่คุ้นเคยกันดีจากการดูภาพขาวดำ การอ่านหนังสือพิมพ์
และหนังสือทั่วไป

สีดำ ซึ่งเรียกว่า "อรงค์" คือ ถือว่าไม่ใช่สีดำ เป็นสัญลักษณ์ของความมืด ความสว่าง ในการตีพิมพ์สีดำมีค่าในทางบวกมา เนื่องจากเมื่อ
เราใช้สีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพ หรือตัวอักษรวางลงไป ก็จะทำให้สีเหล่านั้นเจิดจ้าสะดุดตาขึ้น

สีขาว ไม่เป็นทั้งสีอุ่น และเย็น ยกเว้นเมื่ออยู่กับสีเหลืองจะทำให้สีเหลืองจ้าขึ้น เราสามารถวางภาพ หรืออักษรสีต่างๆ ลงบนพื้นขาวได้ผลดี
เช่นเดียวกับสีดำ
ที่มา http://203.146.15.109/lms/content/multimedia/multi_lesson/lesson/04/color_g.html